การเขียนเว็บเพจ เพื่อนำเสนอบทความ โดย MS Word

  1. ใช้โปรแกรม Microsoft Office Word  ได้
  2. เข้าใจและสามารถทำการ ดาวน์โหลด-อัพโหลดหน้าเว็บได้
 การจัดทำเว็บเพจ เพื่อนำเสนอบทความหน้าเว็บ จะแนะนำการใช้ โปรแกรม Microsoft Office Word  ตั้งแต่ เวอร์ชัน 2003 ขึ้นไป ในที่นี้จะใช้ Office 2010 เวอร์ชันภาษา English ควบคู่กับการอธิบายไปพร้อมกับ Office 2003

               ขั้นตอนแรก  >> ออกแบบเนื้อหา บทความ ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word  ให้เรียบร้อย การออกแบบนั้น แล้วแต่ความถนัด จะออกแบบใน มุมมองหน้าเว็บเพจ หรือมุมมองปกติก็ได้

โดยถ้าเป็น Office 2010 ให้ เลือกที่ View > Web Layout. ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นมุมมองหน้าเว็บ

รูปภาพ

ส่วน Office 2003 ให้เลือก เมนู View > Web Layout. [มุมมอง > มุมมองเว็บ] หรือดูที่ Scrollbar ด้านล่างซ้าย ตามลูกศร คลิกเลือกไอคอน Web layout

รูปภาพ

ขั้นตอนที่ 2  เมื่อเราได้ทำการออกแบบ และจัดทำเนื้อหาบทความ เสร็จแล้ว ขั้นตอนการบันทึกให้เราทำการบันทึกเป็นไฟล์ .Doc ธรรมดา หนึ่งไฟล์ เพื่อไว้สำหรับการแก้ไขในภายหลัง

และทำการบันทึกเป็นไฟล์เว็บเพจ อีกหนึ่งไฟล์ การบันทึกไฟล์เว็บเพจ เลือกเมนู File > เลือกคำสั่ง Save as ที่หน้าต่าง Save as ให้เลือกตำแหน่งไดเรกทอรี่ที่ต้องการจัดเก็บไฟล์

รูปภาพ

ช่อง File name : ให้ตั้งชื่อไฟล์ (ควรใช้ภาษาอังกฤษ จะดีกว่า)

ช่อง Save as type:  ให้เลือกประเภทไฟล์ เป็น Web Page(*.htm;*.html)

 

แล้วก็ทำการคลิกปุ่ม Save  จากนั้นเราจะได้ ไฟล์เว็บเพจ HTML ที่มีนามสกุล .htm และโฟลเดอร์ที่เก็บรายละเอียดและรูปภาพที่จำเป็นสำหรับหน้าเว็บเพจของเรา

10 ข้อที่ไม่ละเลยในการทำเว็บไซต์

1.วางแผนภาพรวมของเว็บไซต์ การวางตำแหน่งของเนื้อหา และเนวิเกชัน โดยอาจวาดรูปร่างคร่าวๆ ของเว็บไซต์ไว้ก่อนว่าจะจัดวางตำแหน่งอย่างไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้พัฒนาเว็บไซต์เองจะได้ไม่เสียเวลาในภายหลังด้วย 

2.แทรก Meta tags ในเว็บไซต์ของคุณ เพื่อจะทำให้เว็บไซต์ของเราง่ายต่อการค้นหา

3.อย่าใส่ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวได้มากเกินไป ในหลายๆเว็บไซต์จะเห็นได้ว่ามีการใส่กราฟิกภาพเคลื่อนไหวได้จำนวนมาก ทั้งเป็น Flash หรือ gif เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเพื่อเน้นส่วนต่างๆในเว็บไซต์ แต่การใช้ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมากเกินไป จะก่อนให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้แต่พอดีเน้นในส่วนที่ต้องการเน้นเท่านั้น บางเว็บไซต์อาจใช้งาน Javascript เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับเว็บไซต์ แต่ถ้าเราใช้งานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสับสน หรือเป็นอุปสรรคในการใช้งานของผู้เข้าชมได้ 

อีกข้อที่อยากจะเตือนคือ flash , javascript หรือ animations ต่างๆนั้น search engine ไม่ได้ในไปรวมในฐานข้อมูลด้วย ดังนั้นข้อมูลที่เราแสดงผลด้วยเครื่องมือดังกล่าวนั้นก็จะไม่ถูก นำไปรวมในฐานข้อมูลของ search engine ด้วย จึงควรระวังในส่วนนี้ให้ดี

4.อย่าให้เว็บไซต์ของคุณ แสดงผลนานกว่า 8 วินาที หรือมีขนาดใหญ่กว่า 40 kb เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เคยพูดถึงหลายครั้งแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่มักจะถูกละเลย ตามที่เราได้เคยกล่าวไปแล้วว่า ไม่มีใครอยากรอคอย ถ้าเว็บไซต์ของเราแสดงผลนาน ก็เป็นไปได้อย่างสูงว่าผู้ชมอาจปิดเว็บไซต์เราไปก็ได้ 

ไฟล์ flash , animation , เพลง , ภาพขนาดใหญ่เป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้ เราจึงควรลดการใช้งาน ซอยสิ่งเหล่าในให้ไปอยู่ในหน้าต่างๆ หรือลดขนาดลง และให้ผู้ชมเลือกเองว่าต้องการดูส่วนใด เราเพียงทำลิงค์ หรือภาพขนาดเล็กเพื่อลิงค์ไปหาภาพขยายใหญ่ไว้ให้ 

5.ขนาดเว็บไซต์ของคุณ ขนาดเว็บไซต์มีผลอย่างยิ่งกับการแสดงผลในหน้าจอขนาดต่างๆ เราจึงควรกำหนดขนาดเว็บไซต์ไม่ให้เกิน 750px หรือ กำหนดการแสดงผลเป็น % เพื่อลดปัญหาเหล่านี้

6.อย่าเชื่อใจ WYSIWYG HTML editors อย่างเชน Dreamweaver , Frontpage เพราะการแสดงผลเว็บเพจผ่านโปรแกรมพวกนี้ กับการแสดงผลผ่าน web browser ต่างๆอาจไม่เหมือนกัน เราจึงควรตรวจสอบก่อนทุกครั้ง และตรวจสอบด้วย browser อย่างน้อย 2 ชนิดที่ได้รับความนิยม คือ 1. Internet Explorer 2.Firefox 

7.การเว้นช่องว่าง การเว้นช่องว่างระหว่างวัตถุ เช่นช่องว่างของตัวอักษรในตาราง ช่องไฟระหว่างตัวอักษรด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก การเว้นช่องว่างระหว่าง ตัวอักษร จะทำให้เกิดความสาวงาม อ่านสบายตา การเว้นช่องว่างในตาราง ทำให้ตารางดูสวยงามขึ้น เราสามารถใช้ CSS ในการควบคุมสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดได้ และควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

8.การใช้สีในเว็บเพจ สีก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในเว็บเพจ สีที่ต่างกันให้อารมณ์ต่างกัน เราจึงควรเลือกสีให้เหมาะกับเนื้อหา หรือกลุ่มผู้ชม ถ้าเลือกสีฉุดฉาดก็เหมาะกับกลุ่มเด็ก เลือกสีเข้มจะเหมาะกับกลุ่มผู้ใหญ่อ่านเรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับสีคลิกที่นี่
สำหรับในส่วนสีที่ใช้แสดงเนื้อหานั้น อย่าใช้สีตัวอักษรโทนดำ บนพื้นหลังสีดำ หรืออย่าใช้สีตัวอักษรโทนขาว ในพื้นหลังโทนขาว เพราะจะทำให้อ่านตัวอักษรได้ยาก สีที่เหมาะจะแสดงตัวอักษรดีสุดคือ ตัวอักษรสีดำ พื้นสีขาว สีเหลืองเหมาะสำหรับใช้เน้นข้อความสำคัญ

9.ระวังเรื่องหน้าต้อนรับหลายๆเว็บไซต์นิยมจะให้หน้าแรก เป็นหน้ากล่าวคำยินดีต้อนรับ หรือหน้าแจ้งข่าวสารต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก เพราะจะส่งผลต่อ เนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณใน Search Engine และอันดับที่ปรากฏใน Search Engine

 10.Pop upไม่แนะนำให้ใช้ pop up เนื่องมาจากว่า browser ส่วนใหญ่ตอนนี้จะตัดไม่แสดงผล pop up อยู่แล้ว ทำให้ข้อมูลที่อยู่ใน pop up ก็ไม่แสดงผลไปด้วย และการใช้ pop up เหมือนกับการใช้เพื่อโฆษณาซะมากกว่า

12 ข้อผิดพลาดในการทำเว็บไซต์

อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่าในโลกของอินเทอร์เนตนั้นมีเว็บไซต์มากมาย ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีคู่แข่งเช่น เว็บไซต์ขายของ แน่นอนว่าลูกค้าจะมีตัวเลือกมากมาย ดังนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนี่งที่ทำให้คุณอยู่เหนือตัวเลือกอื่นๆ 

     การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้นจะเริ่มตัดสินกันตั้งแต่ การที่ผู้ใช้เห็นเว็บคุณเป็นครั้งแรก เราจะต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน เพื่อให้เค้ากลับมาใช้เว็บของเราอีกครั้ง แน่นอนว่าเรามีเวลาไม่มากในการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ถ้าจะวัดกันคร่าวๆก็น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 20 วินาที รวมเวลาการดาวน์โหลดเว็บเพจแล้ว จะเห็นว่าเวลานั้นน้อยมาก เนื่องมาจากว่าทุกวันนี้คนเราเริ่งรีบกันมากและมีตัวเลือกมากมายให้เลือก ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นคุณต้องการทำเว็บไซต์เพื่อขายของ ทุกวันนี้คุณมีคู่แข่งมากมาย และเว็บไซต์ของคุณอยู่ห่างจากเว็บไซต์ของคนอื่นแค่คลิกเดียวเท่านั้น 

นี่คือข้อผิดพลาด 12 ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำเว็บไซต์

1. เว็บไซต์ของคุณแสดงผลได้ช้ามากๆ

     พูดง่ายๆก็คือเว็บของคุณโหลดได้ช้ามาก ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาในการรอให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลนานมาก แน่นอนว่าเวลาในการแสดงผลของเว็บไซต์มีหลายปัจจัย เช่น ความสามารถของ web server , ความเร็วของอินเตอร์เนตของผู้ใช้งาน แต่ปัจจัยต่างๆนั้นเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น ต้นเหตุที่เราสามารถควบคุมได้อยู่ที่ขนาดของเว็บเพจ

     ขนาดของเว็บเพจนั้นไม่ควรเกิน 60 KB ขนาดของเว็บเพจที่เพิ่มขึ้นมีเหตุมาจาก รูปภาพที่คุณใช้มีขนาดใหญ่เกินไป , การเปิดเพลงประกอบในเว็บไซต์ของคุณ (ทำให้ผู้ชมต้องเสียเวลาในการดาวน์โหลดเพลง แน่นอนว่าไฟล์เพลงเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 60 KB อยู่แล้ว) , การใช้ไฟล์ flash ที่มีขนาดใหญ่เกินไป ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 

2.ไม่มีเนวิเกชัน

     เนวิเกชัน คือ ส่วนที่ใช้ลิงค์ไปยังหน้าต่างๆของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่นเมนูทางซ้ายมือของ hellomyweb.com จะเห็นว่ามีลิงค์ไปยังส่วนต่างๆของเว็บไซต์ เช่น ลองทำเว็บไซต์ แบบง่ายๆ , พื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ 

     เว็บไซต์ที่ดีควรมีเนวิเกชันในทุกหน้า เพราะในปัจจุบันเราทราบดีอยู่แล้วว่ากว่า 80% ของผู้ใช้งานรู้จักเว็บไซต์ของเราจาก search engine ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าให้ search engine แสดงหน้าใดให้ผู้ใช้งานดู ถ้า search engine แสดงผลในหน้าที่ไม่มีเนวิเกชัน อาจทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีแค่หน้าที่แสดงผลเพียงหน้าเดียว 

     การแสดงผลเนวิเกชันควรแสดงผลในตำแหน่งเดียวกัน เพราะถ้าเราเปลี่ยนตำแหน่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้ 

3. การใช้สีสันที่แสบตา

     หลายคนคงเคยเห็นเว็บไซต์ที่ใช้สีพื้นหลังเป็นสีโทนสว่างมากๆเช่น สีส้ม สีเหลือง แล้วใช้ตัวอักษรในโทนสว่างอีกเช่นเดียวกันเช่น สีฟ้า ทำให้การอ่านเนื้อหาในเว็บเพจทำได้ยากมากๆ ถึงแม้จะทำให้เว็บไซต์ดูสวยงาม ก็ควรหลีกเลี่ยง การใช้พื้นหลังโทนมืด และตัวหนังสือโทนสว่าง เป็นตัวเลือกที่ดีในการทำเว็บไซต์ หรือพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีดำก็เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันมาก 

4. การสะกดคำผิด

     การสะกดคำผิดพลาด การเขียนผิด หรือการใช้ภาษาวิบัติ ก็ไม่ควรให้มีในเว็บไซต์ เพราะจะส่งผลให้เข้าใจผิดพลาดได้

5. เนื้อหาในเว็บเพจ

     ผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างจริงจัง หรือตั้งใจอ่านอย่างที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงควรทำให้เนื้อหาของเราอ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้การเว้นวรรค การใส่ย่อหน้า และการเขียนให้กระชับที่สุด เน้นส่วนของข้อความที่เราต้องการสื่อให้มากที่สุด 

6. ขนาดของตัวอักษร และชนิดของตัวอักษร font

     ในบางครั้งการแสดงตัวอักษรที่เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ browser ของผู้ใช้ ก็เป็นอุปสรรคในการอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์ 
ข้อแนะนำคือเราควรใช้ CSS ในการควบคุมการแสดงผลตัวอักษรให้เป็นไปในทางเดียวกัน จะทำให้เว็บไซต์ของเราดูดี และอ่านได้ง่ายขึ้น

7. การเว้นวรรค , การเว้นบรรทัด และการจัดช่องไฟของตัวอักษร

     เราสามารถใช้คำสั่ง CSS ในการจัดช่องไฟของตัวอักษรได้ การจัดช่องไฟให้ตัวอักษร การเว้นวรรคที่ดี และการเว้นบรรทัดของเนื้อหาที่ดี ก็ทำให้เว็บไซต์ของเราดูดีขึ้นได้มากทีเดียว 

8. การใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดมันได้

     ถ้าคุณมีความจำเป็นที่จะต้องใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ของคุณ อาจเพื่อจูงใจลูกค้า คุณต้องแน่ใจว่าได้ทำปุ่มสำหรับปิดเพลงนั้นไว้ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถปิดมันได้โดยง่าย และเห็นมันอย่างชัดเจน มิฉนั้นเพลงที่คุณใส่ไปอาจส่งผลทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกหงุดหงิดได้ 

9.การทำเว็บไซต์โดยไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อน

     องค์ประกอบของหน้ามีความสำคัญมาก ถ้าคุณไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น

     การใส่เนื้อหาในหน้ามากเกินไป คุณอาจเห็นหลายเว็บไซต์ที่ใช้พื้นที่ของหน้าแทบจะทุกจุดของเว็บเพจก็ว่าได้ อย่างที่เคยบอกไปว่าผู้ใช้งานไม่เคยตั้งใจอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง การใส่เนื้อหาที่มากไปจะทำให้คุณไม่สามารถสื่ออะไร หรือบอกอะไรได้เลย ดังนั้นจึงควรใส่เนื้อหาที่คุณอยากจะสื่อ และแบ่งสัดส่วนต่างๆให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเห็นได้ชัดเจน รูปแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าก็มีความสำคัญมาก คุณไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ในแต่ละหน้าให้แตกต่างกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ 

10. การทำหน้าเว็บเพจที่ยาวเกินไป

     เนื้อหาที่ยาวจนเกินไปไม่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์แน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้การแสดงผลเว็บเพจนั้นช้าแล้ว ยังส่งผลผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อด้วย 

     ดังนั้นเราจึงควรแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆ และให้ผู้ใช้งานโหลดทีละตอนจะดีกว่า 

11.การทำลิงค์ที่ผิดพลาด

     ลิงค์เป็นส่วนที่สำคัญมากของเว็บไซต์ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเราไปยังส่วนอื่นๆของเว็บไซต์ เราจึงควรทำให้ส่วนที่เป็นลิงค์มีความชัดเจนในตัวเอง และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเปลี่ยนสีของลิงค์ 

12. ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง

     คำนี้ไม่ควรให้มีในเว็บเพจของคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานผิดหวังที่จะต้องรอหน้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแล้ว ยังทำให้รู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณยังไม่สมบรูณ์ ยังไมได้มาตราฐาน 

โปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บ

 โปรแกรมที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเว็บขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดภาษา HTML เลยก็ได้ ซึ่งการสร้างเว็บเพจก็สามารถเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) ต่างๆ ได้มากมาย โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บ มีประสิทธิภาพและมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน แล้วแต่จะนำไปใช้ ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้สร้างเว็บเพจ เช่น โปรกรม Dreamweaver, NetObject, HomeSite , ColdFusion, FrontPage, Visual InterDev หรืออาจสร้างได้โดยใช้ภาษาสำหรับสร้างเว็บเพจ (Web Program’s Language) โดยเฉพาะ เช่น Active Server Page (ASP) ,PHP, Java Server Pages (JSP), JavaScript, VBScript, Visual C++.Net ,Visual C# .Net 

ทุกโปรแกรมที่ได้กล่าวถึงข้างต้นต่างก็มีพื้นฐานมาจากการใช้ภาษา HTML (HyperText Markup Language) เกือบทั้งหมด โดยเป็นภาษาที่มีลักษณะของโค้ด คือเป็นไฟล์เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรในมาตรฐานของรหัสแอสกี (ASCII Coed) ซึ่งสามารถที่จะอ่านเข้าใจได้ และเป็นเอกสารที่มีความสามารถสูงกว่าเอกสารธรรมดาทั่วไป ทั้งนี้เพราะเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์ และจัดอยู่ในตระกูลของภาษาที่ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเอกสาร (Markup Language)

กราฟิกสำหรับเว็บก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยสื่อความหมายของเว็บให้ผู้ใช้ได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น รูปแบบกราฟิกสำหรับเว็บมีประเภทไฟล์อยู่ 2 ประเภทที่นิยม คือ GIF (Graphic Interchange Format) และ JPEG (Photographic Experts Group) ทั้งสองไฟล์นี้เป็นไฟล์ที่นักออกแบบเว็บส่วนใหญ่นำมาใช้บนหน้าเว็บเพราะเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก เมื่อนำมาจัดแสดงบนหน้าเว็บใช้เวลาในการดาว์นโหลดหน้าเว็บไม่นาน

โปรแกรม Micromedia Dreamweaver MX
โปรแกรม Dreamweaver MX เป็นเวอร์ชันล่า โดยเป็นโปรแกรมประเภท Visual Webpage Layout Tool ที่ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพื่อนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต มีความสามารถในด้านต่างๆ คือ สามารถสนับสนุนรูปแบบของ Dynamic HTML จัดรูปแบบหน้าเว็บด้วย CSS (Cascading Style Sheets) Dynamic HTML Animation JavaScript Behaviors การออกแบบตาราง เฟรม และการจัดการของเว็บทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังมีคุณสมบัติที่นอกเหนือจากนี้อีก ที่จะให้คุณสามารถจัดการกับเว็บได้อย่างมืออาชีพ

โปรแกรม Microsoft FrontPage 2002
จุดเด่นของโปรแกรม FrontPage ในเรื่องของการบริหารเว็บไซต์ได้อย่างดีเยี่ยมเพราะเหมาะสำหรับเว็บที่มีเนื้อหาอยู่ในรูปของโปรแกรม Microsoft Office เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการใช้งานที่ง่ายกว่า Micromedia Dreamweaver MX เพราะไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก โดยสามารถเปลี่ยนแปลงไฟล์เอกสารที่อยู่ในชุด Office ไม่ว่าจะเป็น Word Excel Access และ PowerPoint ให้เป็นไฟล์ HTML ได้อย่างง่าย เพราะปัจจุบันไมโครซอฟต์ได้พัฒนาชุด Office สนับสนุนการใช้บนเว็บมากยิ่งขึ้น บางเว็บไซต์ยังใช้โปรแกรมตัวนี้อยู่เพราะเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

โปรแกรม Macromedia Flash MX
เมื่อคุณต้องการสร้างงานในรูปแบบมัลติมีเดียบนหน้าเว็บของคุณโปรแกรม Macromedia Flash MX เป็นโปรแกรมที่คุณไม่ควรมองข้าม นอกจากจะทำให้เว็บมีรูปแบบที่สวยงามแล้ว ยังสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหว สร้างการโต้ตอบ หรือใส่ลูกเล่นต่างๆ ได้ เพื่อให้เว็บมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันโปรแกรมตัวนี้ได้รับความนิยมสำหรับการออกแบบเป็นอยางดี ส่วนใหญ่เป็นเว็บเกี่ยวกับบันเทิง เกมส์ การ์ตูน ที่นำมาใช้ออกแบบบนหน้าเว็บ นอกจากนี้แล้วความสามารถของโปรแกรมตัวนี้ยังสามารถเพิ่มเติมรองรับกับโค้ดภาษา HTML และ Java Script อีกด้วย 

โปรแกรม Adobe Illustrator
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงานกราฟิก มี 2 ชนิดคือ โปรแกรมประเภทวาดภาพ และโปรแกรมประเภทตกแต่งภาพ สำหรับการสร้างภาพนั้นจะใช้เพื่อสร้างภาพเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่า Vector Graphic โดยจัดได้ว่าเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในงานออกแบบระดับสากล สามารถทำการออกแบบรูปภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เว็บ และภาพเคลื่อนไหวตลอดจน สำหรับการใช้ในการออกแบบภาพบนเว็บอาจจะใช้ออกแบบโลโก้ แบนเนอร์ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้บนเว็บ จากนั้นก็จำมาตกแต่งใน Adobe PhotoShop เพื่อความสวยงามยิ่งขึ้น

โปรแกรม Adobe PhotoShop 
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพให้เหมาะกับเว็บเพจ ปรับแต่งรูปภาพ ความคมชัดลึกของภาพ การปรับภาพให้คมชัดหรือพร่ามัว การปรับแต่งสีภายในภาพ การใช้ประโยชน์จากเลเยอร์ การสร้างภาพพื้นผิวแบบต่างๆ รวมไปถึงการใช้ฟิลเตอร์เพื่อปรับแต่งภาพหรือปรับขนาดภาพได้ตามความต้องการเพื่อดูสวยงามและเหมาะสมกับหน้าเว็บเพจ ปกติในหนึ่งหน้าจอขนาดจะเป็น 800 X 600 พิกเซล ที่เป็นที่นิยมแต่แนวโน้มในอนาคตการปรับขนาดของจอมอนิเตอร์ความละเอียดจะสูง โดยจะต้องใช้ขนาด 1024 X 768 พิกเซล 

วิธีการเขียนข้อความอธิบายรูป

ภาพที่อยู่ในเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อเรานำกลับเมาส์ไปวางแล้วจะพบคำข้อความบนภาพนั้นๆออกมา  มีวิธีการทำง่ายๆ ดังนี้
1.คลิกรูป ที่อยู่บนหน้าจอการทำงาน

รูปภาพ

2.ที่แถบ  ให้พิมพ์ข้อความลงไป

3.ทดสอบกับ Browser กด F12

รูปภาพ

ส่วนประกอบของโปรแกรม

หน้าต่างเปิดงาน

รูปภาพ

1.เปิดงานที่เรากำลังทำค้างอยู่ ดปรแกรมจะแสดงงานที่เราเปิดใช้บ่อยๆ ไว้ด้านบน

2.เลือกประเภทงานที่ต้องการสร้างใหม่ ได้แก่ HTML , Coldfusion, PHP ASP ,JavaScrip ฯลฯ 

3.เลือกงานตามฟอร์มที่โปรแกรมจัดไว้ให้โดยมีรุปแบบให้เลือกหลายประเภท

รูปภาพ

4.เรียนรู้โปรแกรมทางเว็บไซต์ www.Macromedia.com 

5.เรียนรู้โปรแกรมจากโปรแรกมช่วยสอน

รูปภาพ

วิธีการปรับขนาดรูป

เมื่อเรานำรูปมาลงในหน้าจอการทำงานเรียบร้อยแล้ว เรายังสามารถที่จะปรับเปลี่ยนขนาดของรูปได้โดยการ
1.คลิกที่รูปที่ต้องการปรับขนาด

รูปภาพ

2.เลื่อนเมาส์บริเวณมุมของภาพเพื่อย่อ หรือขยายภาพตามต้องการ

รูปภาพ

3.รูปภาพถูกย่อขนาดลงแล้ว

รูปภาพ

วิธีนำรูปภาพมาใส่ในเว็บ

1.คลิกวางเคอร์เวอร์ตรงบริเวณที่เราต้องการจะวาง
2.คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Image 

 

รูปภาพ

 

3. เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ

รูปภาพ

4.คลิกปุ่ม OK

รูปภาพ

5.มีข้อความเตือนให้ save ก่อน ให้คลิก OK

รูปภาพ

วิธีการลบเฟรม

ในกรณีที่เราต้องการยกเลิกใช้งานเฟรม เราสามรถที่จะลบเฟรมนั้นออกจากเว็บเพจได้ ส่วนวิธีการก็สุดแสนจะง่านดาย ดังนี้ครับ
1.คลิกเมาส์ที่เส้นแบ่งเฟรม
2.ลากเมาส์ไปให้ชิดขอบด้านใดด้านหนึ่ง เฟรมนั้นๆจะถูกยุบรวมกับเฟรมที่ชิดด้วย
3.คลิกที่พื้นที่ว่าง เฟรมจะหายไปเรียบร้อย

 

รูปภาพ

 

รูปภาพ

รูปแบบของเฟรม

เฟรมจะมีด้วยกันอยู่ 2 รูปแบบคือ เฟรมหลัก (Frameset)  และเฟรมย่อย (Frame) 
เฟรมหลัก (Frameset) คือ หน้าต่างที่ใหญ่ที่สุด ที่ควบคุมเฟรมย่อย อื่นๆ อีกทีหนึ่ง และลักษณะการแบ่งเฟรมในแนวตั้วและแนวนอน ทั้งยังกำหนดขนาดของขอบ สี รวมถึงระยะห่างระหว่างเฟรมได้อีกด้วย

 

รูปภาพ

 

เฟรมย่อย (Frame) คือหน้าต่างเฟรมที่กำหนดชื่อของแต่ละเฟรม และกำหนดไฟล์เว็บที่จะแสดงประจำเฟรม

รูปภาพ